เว็บบล็อกเพื่อการเรียนการสอนของเจ้าของบล็อก อ.แจ๊คกี้ สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติวิทยากร





ชื่อ – นามสกุล นางสาวสุจิตตรา จันทร์ลอย (อ.แจ๊ค)
ภูมิลำเนา : กาญจนบุรี อายุ : 32 ปี วันเดือนปีเกิด : 8 กันยายน 2522
ปริญญาตรี ครุศาตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ประวัติการศึกษา ปริญญาโท ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยี

ทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ประสบการณ์/การทำงานปัจจุบัน
- ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
นครปฐม
- อาจารย์พิเศษ ศูนย์การศึกษา วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม
- เคยได้รับเป็นกรรมการตัดสินการประกวดแข่งขันทักษะทางวิชาการ ระดับกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 5
เทศบาลเมืองราชบุรี
- วิทยากรอบรมการตกแต่งภาพจากกล้องดิจิตอลด้วยโปรแกรม Photoshopและเว็บบล็อก(Weblog)
ให้กับครูการศึกษาเขตพื้นที่ ราชบุรี
- วิทยากร อบรมเรื่อง เทคนิคการบริหารจัดการด้วยเว็บบล็อก (weblog)
ให้กับคณะครูโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา บางรัก กรุงเทพมหานครและอบรมเทคนิคการบริหารจัดการ
ห้องสมุดด้วยเว็บบล็อกให้กับข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา ให้กับ โปรแกรมวิชาบรรณา
รักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้าน
จอมบึง
- วิทยากรอบรมหลักสูตรการผลิตหนังอิเล็กทรอนิกส์(e-book) ด้วยโปรแกรม Flip Album Vista Pro
ให้วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ กรุงเทพมหานคร
- วิทยากร อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การออกแบบและจัดทำวารสารด้วยโปรแกรม in design และ
Photoshop ให้กับคณะทำงานของ สสส.

:------------------------------------------------------:

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของบลูม


ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของบลูม

บลูม (Bloom.1976) เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกัน เชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะประสบ ความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนแน่นอน เพื่อให้ผู้สอนกำหนดและจัดกิจกรรมการเรียนรวมทั้งวัดประเมินผลได้ถูกต้อง และบลูมได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้น ฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy of Educational objectives


(อติญาณ์ ศรเกษตริน. 2543 :72-74 ; อ้างอิงจาก บุญชม ศรีสะอาด. 2537 ; Bloom. 1976 : 18)

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม
บทนำ
Bloom’s Taxonomy กล่าวถึงการจำแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย โดยในแต่ละด้านจะมีการจำแนกระดับความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด เช่น ด้านพุทธิพิสัย เริ่มจากความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมิน นอกจากนี้ยังนำเสนอระดับความสามารถที่มีการปรับปรุงใหม่ตามแนวคิดของ Anderson and Krathwohl (2001) เป็น การจำ(Remembering) การเข้าใจ(Understanding) การประยุกต์ใช้(Applying) การวิเคราะห์ (Analysing) การประเมินผล (Evaluating) และการสร้างสรรค์ (Creating) ด้านจิตพิสัย จำแนกเป็น การรับรู้, การตอบสนอง, การสร้างค่านิยม, การจัดระบบ และการสร้างคุณลักษณะจากค่านิยม ด้านทักษะพิสัย จำแนกเป็น ทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกาย, ทักษะการเคลื่อนไหวอวัยวะสองส่วนหรือมากกว่าพร้อมๆกัน, ทักษะการสื่อสารโดยใช้ท่าทาง และทักษะการแสดงพฤติกรรมทางการพูด

Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
ความเข้าใจ (Comprehend)
การประยุกต์ (Application)
การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
ทฤษฎีการเรียนรู้ เบนจามิน บลูมและคณะ (Bloom et al, 1956) มีลักษณะอย่างไร

ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน คือ
1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา
พฤติกรรมทางพุทธิพิสัย 6 ระดับ ได้แก่
1.ความรู้ความจำ ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการเปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์
ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่างๆได้ สามารถเปิดฟังหรือ ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ
2. ความเข้าใจ เป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น ๆ
3. การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในกาแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้
4. การวิเคราะห์
ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
5. การสังเคราะห์
ความสามารถในการที่ผสมผสานส่วนย่อย ๆ เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ หรือ แนวคิดใหม่
6. การประเมินค่า
เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้

2.จิตพิสัย (Affective Domain)(พฤติกรรมด้านจิตใจ)
ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้
ด้านจิตพิสัย จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
1.การรับรู้ ... เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎการณ์ หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร แล้วจะแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น
2. การตอบสนอง ...เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอม และพอใจต่อสิ่งเร้านั้น ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
3. การเกิดค่านิยม ... การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม การยอมรับนับถือในคุณค่านั้น ๆ หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนกลายเป็นความเชื่อ แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
4. การจัดระบบ ... การสร้างแนวคิด จัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์
ถ้าเข้ากันได้ก็จะยึดถือต่อไปแต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอมรับอาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิกค่านิยมเก่า
5. บุคลิกภาพ ... การนำค่านิยมที่ยึดถือมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจำตัว ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามพฤติกรรมด้านนี้ จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆ
จนกลายเป็นค่านิยม และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของคนคนจะรู้ดีรู้ชั่วอย่างไรนั้น ก็เป็นผลของพฤติกรรมด้านนี้

3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะ
พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ขั้น ดังนี้
1.การรับรู้ ... เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ เป็นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ
2.กระทำตามแบบ หรือ เครื่องชี้แนะ ... เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
3.การหาความถูกต้อง พฤติกรรมสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ เมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ
4.การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองจะกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง จนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง คล่องแคล่ว การที่ผู้เรียนเกิดทักษะได้ ต้องอาศัยการฝึกฝนและกระทำอย่างสม่ำเสมอ
5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ พฤติกรรมที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่อง
จนสามารถปฏิบัติ ได้คล่องแคล่วว่องไวโดยอัตโนมัติ เป็นไปอย่างธรรมชาติ
ซึ่งถือเป็นความสามารถของการปฏิบัติในระดับสูง





อ่านต่อ..

การใช้เว็บบล็อกเพื่อการเรียนการสอน

Blog คืออะไร ??????
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Weblog หรือ Blog
Blog มาจากคำว่า World Wide Web ซึ่งหมายถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกันไปทั่วโลกกับคำว่า log แปลว่า บันทึก รวมกันเป็น Weblog นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า Blog ซึ่งเป็นเว็บไซต์พันธุ์ใหม่รูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก สามารนำมาประยุกต์ใช้เกิดประโยชน์ได้กับแทบทุกวงการ การสร้างสรรค์ Weblog ทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะทางคอมพิวเตอร์มากนักก็สามารถทำได้อย่างสวยงามน่าทึ่ง ดังที่ท่านจะได้ลงมือปฏิบัติในครั้งนี้

Weblog มีประโยชน์อย่างไรบ้าง
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง


ประโยชน์ของ Weblog
1. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คน สาธารณะได้รับรู้
2. เป็นเครื่องมือช่วยในด้านธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร การเสนอตัวอย่างสินค้า การขายสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
3. เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านๆ นั้น เนื่องจากผู้เขียน Blog มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน Blog ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
4. ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
5. ไม่ต้องใช้ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ชั้นสูงก็สามารถทำได้
6. ไม่ต้องของพื้นที่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเหมือนเว็บไซต์ทั่วไป
7. สามารถบรรจุภาพนิ่ง เสียง และภาพเคลื่อนไหวเหมือนเว็บไซต์ทั่วไปได้
8. สามารถใช้งานหรือปรับแต่งให้สวยงามได้ด้วยตนเอง นำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้ดี
9. สำหรับ Weblog ของ Blogger สามารถบรรจุบทความได้มากถึง 999 บทความ
10.สามารถสร้างสรรค์องค์ประกอบต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ตัวเลขนับผู้ชม (counter) กระดานข่าว (web board) สไลด์(slides) คลิบวีดิทัศน์ (video clip) เป็นต้น
11.สามารถเชื่อมโยงกับเว็บไซต์อื่น ๆ ได้ตามต้องการ
ด้วยคุณสมบัติที่ดีดังกล่าว ทำให้ weblog ได้รับความนิยมไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในวงการศึกษามีการนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนแบบผสมผสานได้เป็นอย่างดี weblog จะทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนหรือผู้เรียนกับผู้เรียนได้ตลอดเวลา ทุกสถานที่ที่มีอินเตอร์เน็ตใช้ ผู้เรียนสามารถค้นคว้าความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนได้จากเว็บไซต์อื่นได้มากมายมหาศาล ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงสาระของเนื้อหาที่สอนได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ดังนั้น weblog จึงเป็นสื่อการสอนอีกชนิดหนึ่งที่จะช่วยให้ครูอาจารย์จัดการเรียนการสอนได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น

:-------------------------------------------------------:
...เว็บไซต์ที่น่าสนใจในใช้ลิงค์ทำ บล็อก ผู้สนใจสามารถเลือกใช้ดังนี้...
http://cartoon.siamha.com/ เป็นภาพการ์ตูนต่างๆ
http://www.easy-poll.com/counters/ เป็นตัวเลขจำนวนผู้เข้าชม
http://www.rockyou.com/photofx/ ทำสไลด์สวยๆ ให้ดูดแปลกตา
www.clocklink.com/ เป็นนาฬิกาที่ใช้ดูเวลาในบล็อก
http://www.free-blog-content.com/ ปฏิทิน แต่งเว็บบล็อก
http://www.hitcountersite.com/ แทรกจำนวนผู้เข้าชมสวยๆลองเลือก
http://www.codetukyang.com/java/ รวมฟรีของ java นะค้นหาได้ตามสบายhttp://www.zabzaa.com/java/default.htm รวมฟรีของ java อีก 1 เว็บที่น่าสนใจ ลองเข้าไปดูนะเด็กๆhttp://www.zalim-code.com/day.htm รวมฟรีนาฬิกาสวยๆ และภาพที่โดนใจ
http://my.dek-d.com/writer/story/viewlongc.php?id=280176&chapter=345 กล่อง comment ไว้โพสเข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นhttp://sukumal.brinkster.net/meaploy/angel/color.html